ริชาร์ด เอ. คลาร์ก เคยเตือนสหรัฐอเมริกาแล้ครั้งหนึ่งถึงความปั่นป่วนโกลาหลที่ลัทธิก่อการร้ายจะยังผลให้เกิดขึ้นกับความมั่นคงของชาติ และก็ถูกต้องเสียด้วย คราวนี้ เขาเตือนอีกครั้งถึงภัยคุกคามอีกประการ เงียบกริบแต่อันตรายไม่ต่างกัน
“สงครามไซเบอร์” เป็นหนังสือทรงพลังเกี่ยวกับเทคโนโลยี รัฐบาล และยุทธศาสตร์การทหาร เชื่อมโยงไปถึงอาชญากร จารชน ทหาร และแฮกเกอร์ทั้งหลาย นี่เป็นหนังสือเล่มแรกที่พูดถึงสงครามในอนาคต “สงครามไซเบอร์” กับข้อโต้แย้งที่น่าเชื่อถือว่า อาจบางทีเรากำลังตกอยู่ท่ามกลางภยันตรายใหม่นี้ และกำลังพ่ายแพ้
สงครามไซเบอร์ ก้าวลึกลงไปถึง “การพูดจาประสาเซียน” ของเหล่าแฮกเกอร์และนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ทั้งหลายเพื่อให้คำอธิบายที่ชัดเจนแจ่มแจ้งและน่าเชื่อถือยิ่งกว่า สงครามไซเบอร์คืออะไร อาวุธไซเบอร์ทำงานอย่างไร เราในฐานะชาติชาติหนึ่งและปัจเจกบุคคลผู้หนึ่งมีความเปราะบางอย่างไรต่อโยงใยมหึมาของอาชญากรทางไซเบอร์ที่กำลังปกคลุมลงมา…
“เรา” ในที่นี้คือเมริกา เพราะคนเขียนหนังสือเล่มนี้คือผู้ที่เคยเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาถึง 3 คน แง่มุมในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่จึงค่อนข้างเน้นไปทางด้านความมั่นคง ว่าอเมริกามีความเข้มแข็ง และเปราะบางเพียงใดหากเกิดสงครามในรูปแบบ และนอกรูปแบบอย่างในไซเบอร์สเปซ ซึ่งมหาอำนาจอาจไม่ใช่ผู้ที่จะชนะเสมอไปในเมื่ออเมริกานั้นพึ่งพาเทคโนโลยีมากมายเหลือเกิน การถูกโจมตีเพียงจุดเดียวในโครงข่ายกระแสไฟฟ้าก็อาจทำให้ การเงิน การขนส่ง ระบบต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งประเทศหยุดชะงักได้ หากไม่มีการป้องกันที่เข้มแข็งพอ อาวุธไซเบอร์อย่างลอจิกส์บอมส์ แทรปดอร์ เวิอร์ม ฯลฯ ต่างถูกพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้เล่นงานกันและกัน มันเงียบ มองไม่เห็นตัว และอาจระบุที่มาไม่ได้ มันจึงอันตราย และเล่นกันง่าย…
สาระน่าสนใจยิบย่อยเยอะมาก ที่ถึงแม้จะเกี่ยวกับอเมริกากับจีน และรัสเซียเป็นหลัก แต่เราว่ามันสามารถครอบคลุมได้ทุกชาติเลย เพราะทุกวันนี้หลายสิ่งหลายอย่างเราออนไลน์กันเกือบหมด ตั้งแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างส่งข้อความผ่านไลน์ ไปจนถึงระบบดาวเทียม เครื่องบินไร้คนขับ ศัพท์เทคนิคที่อ่านและจำยาก ๆ เยอะไปหน่อย เรามีปัญหาแค่ตรงนี้ล่ะ อ่านไปก็ลืมไป
Advertisements Share this:- More