Rate this book

An Economist Gets Lunch: New Rules For Everyday Foodies (2012)

by Tyler Cowen(Favorite Author)
3.33 of 5 Votes: 5
languge
English
publisher
Dutton Adult
review 1: "ถ้าเราใส่ใจกับอาหาร เราก็ต้องใส่ใจการใช้เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ด้วย อาหารเป็นผลพวงของอุปสงค์อุปทานตามหลักเศรษฐศาสตร์ เพราะฉะนั้นจงพยายามค้นหาว่า อาหารสดเอย ผู้จัดหาที่ช่างคิดสร้างสรรค์เอย และผู้บริโภคที่รู้ข้อมูลดีอยู่ตรงไหนเอย" - เป็นใจความหลักของหนังสือสิ่งที่ผู้เขียน�... more��นังสือเล่มนี้พูดบ่อยๆ ก็คือ ความดีงามของผู้อพยพ และอาหารของชาติอื่นๆ ที่อพยพมาอยู่ที่อเมริกามักจะรสเลิศเสมอบทที่ชอบท่ี่สุดในหนังสือเล่มนี้ คือบทที่ 3 ปฺฎิวัติการท่องซูปเปอร์มาร์เก็ด ผู้เขียน ทดลองงดบริโภคอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตกระแสหลัก 1 เดือน แล้วอุดหนุนซูเปอร์มาร์เก็ตต่างชาติเจ้าเดียวแทน เขาเลือกห้างเกรตวอลล์ ที่เป็นร้านของคนจีน ทีนี่เขาพบว่าแม้จะคุ้นเคยกับอาหารจีน แต่การหาของก็เหมือนกับการหลงอยู่ในเขาวงกต ข้าวของต่างๆ ละลานตาไปเสียหมด ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว หรือผักดอกก็มีหลายแบบ แม้จะเป็นร้านจีนแต่พนักงานในร้าน่ การเรียกชื่อเครื่องปรุงจีนบางอย่างก็หาคำแปลสเปนไม่ได้ วิธีจัดวางสินค้าบนชั้นและช่องว่างระหว่างช้นก็แตกต่างออกไป ผัดสดในร้านก็มีหลายแบบ ผักที่มาจากสวนผักที่ทำสัญญาต่อกันโดยเฉพาะ การจัดวางผักสดเยอะแยะเต็มด้านหน้า และมีคนซื้อกันหนาตา ทำให้เขาอยากกินและซื้อบ้าง จนหันมากินผักมากขึ้น แล้วเขาก็เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอื่นๆ ของตัวเองจากวัตถุดิบที่ซื้อมา จากนั้นเขาก็สรุปว่าเรียนรู้อะไรบ้างจากการทดลองนี้ การสังเกตเรื่องเล็กน้อยต่างๆ ระหว่างซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตทำให้เราอยากทำตามบ้าง ทุกวันนี้ก็ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกเครื่องครัวเป็นประจำอีกบทหนึ่งที่ชอบคือกฏการหาร้านอร่อย เขาบอกให้เราลองใช้กรอบเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นใการทำความเข้าใจแหล่งที่มาของอาหารคุณภาพ วัตถุดิบ ทุน แรงงานและที่ดิน ตอนนหนึ่งเขาพูดถึงวิธีการอุดหนุนไขว้ ให้ดูว่าร้านอาหารนั้นๆ มีการอุดหนุนไขว้หรือไม่ ซึ่งก็ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมป็อบคอร์นในโรงหนังแพง หรือเงินค่ากาแฟสตาร์บักส์รวมอะไรลงไปด้วย หรือดูว่าร้านอาหารนั้นๆ ใช้พนักงานเสิร์ฟยังไง รายละเอียดที่เขาเขียนไว้ในหนังสือชวนให้คิดว่า นักเศรษฐศาสตร์คิดละเอียดขนาดนี้เลยหรือไงบทอื่นๆ ก็ยังน่าสนใจ เช่น การพูดถึงว่าบาร์บีคิวเป็นอาหารสโลว์ฟู้ด ของคนอเมริกัน อาหารเอเชียชาติต่างๆ ความอดหยากกับการใช้เทคโนโลยีเกษตร ตรงนี้เขาสนับสนุนจีเอ็มโอและมอนซานโตว่าจะทำให้คนแอฟริกาไม่อดอยาก ตอนท้ายเล่ม เป็นเรื่องการทำอาหารในบ้าน ในทุกบท นอกจากจะเน้นไปที่การให้เหตุผลแบบเศรษฐศาสตร์แล้ว เขาก็ใส่ประวัติศาสตร์แบบเข้มข้นจริงจังแทรกอยู่เป็นระยะ ย้อนกลับไปอดีตอันไกลโพ้นเพื่อพยายามอธิบายว่าทุกวันนี้มันเป็นแบบนี้ได้ยังไงสนุกดีจบ.."เป็นไปได้ที่จะกินอาหารสดคุณภาพเยี่ยมเป็นประจำ ถ้าคุณยอมลงแรงและเสียเวลาไม่รู้กี่ชั่วโมง แต่คนเราส่วนใหญ่หรือแม้แต่นักกินตัวจริงาส่วนมากก็คิดว่าไม่คุ้ม เราอยากกินอะไรง่ายๆ เร็วๆ สถาบันและเทคโนโลยีในสังคมที่ยากจนกว่าไม่เปิดโอกาสให้คนจำนวนมากมีสิทธิเลือกกินอาหารง่ายๆ เร็วๆ ตอนนี้แหละที่เราจะเจออาหารอร่อยมากเป็นพิเศษในเมือง หรือภูมิภาคที่ยากจน แต่ทันทีที่ภูมิภาคนั้นร่ำรวยมีเงินทองมากขึ้น ผู้คนจะต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นคนสองกลุ่มที่ได้กินอาหารสดที่สุด และรสชาติดีที่สุด นั่นคือคนที่จนกว่าเพื่อนก็เลยไม่มีทางเลือก และคนที่รวยกว่าเพื่อนแล้วใช้เงินทองมหาศาลพยายามสร้างเครือข่ายการจัดการอาหารเลียนแบบเครือข่ายที่คนจนใช้มานานนับศตวรรษขึ้นมาใหม่" (หน้า 264) คำ่่ว่า tomato มาจากภาษนาฮัวของเม็กซิโก tomati
review 2: One of the most agreeable economics books I have read in some time, and one of the few in which I'm largely in agreement with the author. Good food can be had cheaply, if one knows how to look. Carbon taxes and the removal of farm subsidies would encourage better diets, Singapore is one of the best places on the planet for great inexpensive food, Thai food in North America is horrible gloopy sweetness (and is getting worse). less
Reviews (see all)
ajai
Read Calvin Trillin or Freakonomics instead. The musings of a privileged guy over meals. Zzz.
Kale
it's a great alternative insight through eating with precious economist analysis.
rags8734
Too long, should have been a magazine article.
hannahbug9316
interesting at first then gets preachy
Jesica
A lot of fun reading this book.
Write review
Review will shown on site after approval.
(Review will shown on site after approval)